มิสเตอร์เอ็กซ์ Group

Friends 28,407

ตรวจสภาพ พรบ.ทะเบียน

Mixed media feedSee more

Reward card

ประเภทการให้บริการSee more

ทำไม.? ต้องตรวจสภาพรถ

ตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า รถที่จะนำมาใช้จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับ ผู้โดยสาร ผู้ขับขี่รถคันอื่นๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบรถ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน โดยรถที่ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน) รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน) โดยที่สามารถดูวันที่จดทะเบียนได้จากในเล่ม คู่มือรถสีน้ำเงิน ที่กรมการขนส่งเป็นคนออกให้ หรือดูจากสำเนาคู่มือทะเบียนรถก็ได้ และเราสามารถนำรถเข้าตรวจสภาพที่ ตรอ. ล่วงหน้าได้ ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันหมดอายุภาษีประจำปี ตรอ. ย่อมาจาก สถานตรวจสภาพรถเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก เพื่อใช้ตรวจสภาพรถ ว่ามีความพร้อมในการใช้งานตามข้อกำหนดของทางกรมการขนส่งฯหรือไม่การที่มี ตรอ. จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ ไม่ต้องเสียเวลาไปที่กรมขนส่ง และเป็นการลดภาระการตรวจสภาพรถจากทางกรมขนส่งอีกด้วย ผู้ใช้รถสามารถนำ รถเข้าตรวจสภาพ ก่อนเสียภาษีประจำปี เพื่อ ขอเอกสารการันตีว่ารถของเราปลอดภัยพร้อมใช้งาน สามารถขับขี่ได้โดยไม่เป็นอันตราย ไม่สร้างมลพิษในอากาศนั่นเอง

ประกันรถ พรบ. ประกันชั้น 1 2 3

ความหมายของการประกันภัยรถ การประกันภัยรถ จัดเป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถ ซึ่งการประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้ รถ ประกอบด้วย ความเสียหายที่เกิดแก่รถ ความเสียหายที่รถได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถนั้น สรุปความหมายของการประกันภัยรถ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับรถไปให้บุคคลอื่นซึ่งเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย” รับเสี่ยงภัยแทน โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ให้กับผู้รับประกันภัย เป็นการตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยยอมรับความเสี่ยงภัยไว้แทน หากรถคันที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถ หรือแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่โดยสารอยู่ภายในรถ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถที่เอาประกันภัยคันดังกล่าว ผู้เอาประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ตามจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้ ประเภทของการประกันภัยรถ มี 2 แบบ 1 ประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถทุกคัน ทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ. ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ” 2 ประกันภัยรถภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) เป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการของผู้ซื้อโดยไม่มีผู้ใดบังคับซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั่นเอง

บริการด้านงานทะเบียนรถทุกชนิด

บริการรับชำระภาษี ต่อทะเบียนรถทั่วประเทศ บริการให้คำปรึกษา งานด้านทะเบียนรถ - โฮน ย้าย - เปลี่ยนสี เครื่อง แก็ส แทรง (แผงข้าง) - ดัดแปลงสภาพรถ คัสซี เพลาลอย ฯลฯ

Delivery (store)

Hours
วันหยุดนักขัตฤกษ์เฉพาะวันสำคัญ
Mon15:00 - 17:00
Tue15:00 - 17:00
Wed15:00 - 17:00
Thu15:00 - 17:00
Fri15:00 - 17:00
Sat12:00 - 15:00
SunClosed
Payment
Cash on deliveryBank transfer
Country or region: Unspecified